Last updated: 27 ต.ค. 2565 | 36 จำนวนผู้เข้าชม |
การหยุดการหลุดร่วงของดอก-หางแย้เฉียบพลัน
ขณะนี้สวนทุเรียนทั้งตะวันออกและใต้ น่าจะเจอกับสภาพอากาศที่แปรปรวนเป็นอย่างมาก ทั้งฝนตกและอากาศที่หนาวเย็นลง ติดกันหลายวัน ในช่วงดอกเป็นมะเขือพวงจนถึงหางแย้ไหม้ เมื่อฟ้าปิด ทำให้การสังเคราะแสงต่ำ ส่งผลให้อาหารในลำต้นชะงักการปรุงอาหารไปด้วย ประกอบกับฝนตก มีน้ำในดินมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะในต้นหลักๆคือ
1.ความเครียด จากสภาพอากาที่ฝนตกกระทันหัน จึงเกิดฮอร์โมนเอทีลีนขึ้นมาที่ขั้วหางแย้ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการสลัดของหางแย้มากกว่าปกติ
2.สมดุลย์ของ C:N Ratio เปลี่ยน เมื่อฝนตกไนโตรเจนในอากาศและในดินจะเพิ่มขึ้น แสงแดดที่ลดลงทำให้การปรุงอาหารในพืชลดลง แต่สวนกลับเป็นไนโตรเจนที่เพิ่มมากขึ้น ปลายกิ่งจึงเกิดอาการใบแทง ใบอ่อนพยายามออกมา จึงทำให้เสียสมดุลย์ของ C:N Ratio ขึ้นหางแย้ จะสลัดมากกว่าปกติ
วิธีแก้ไขโดยด่วน ถ้าไม่ทำหางแย้หลุดหมดแน่
วิธีแก้ไขคือ
1.#ปุ๋ยน้ำนูตร้าแพลนท์ สูตร 0-30-35 อัตรา200ซีซี (ต่อน้ำ200ลิตร) การเพิ่มP,K คือการเร่งให้ทุเรียนเร่งสร้างเมล็ดให้สำเร็จเร็วขึ้น และช่วยลดการดูดกันของ N ที่จะมาสร้างยอดใบอ่อน และเมื่อได้ K เพิ่มขึ้น ทุเรียนจะเร่งลำเลียงอาหารกลับไปที่ท้องกิ่งมากขึ้น
2.#มอเตอร์เวย์ (แมกนีเซียม+สารคาร์โบไฮเดรตทางด่วน) อัตรา 200 ซีซี (ต่อน้ำ200ลิตร)
เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรตทางด่วน(C) ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งฟ้าปิดแดดน้อย การสร้างคาร์โบไฮเดรตน้อย มอเตอร์เวย์จะช่วยสร้างสมดุลย์ C:N Ratio ขึ้นมาใหม่เป็นอาหารในต้นพืชโดยด่วน
3.#โบลเวอร์ (อะมิโนธรรมชาติจากปลาทะเล 20 ชนิด+สารไนโตรฟิโนเลต) อัตรา 200 ซีซี (ต่อน้ำ200ลิตร)
โบลเวอร์มีอะมิโนสกัดจากธรรมชาติ 20 ชนิดและมีสารไนโตรฟิโนเลต จะช่วยลดความเครียดจากการสร้างเอทีลีนในต้นพืช ได้อย่างเฉียบพลัน ทำให้ขั้วหางแย้ไม่แก่ก่อนอายุจริง จึงลดการสลัดของหางแย้
29 มี.ค. 2567
27 ต.ค. 2565
29 มี.ค. 2567