สิ่งที่ควร และไม่ควรทำ เมื่อเจอปัญหาน้ำท่วมขังในสวนทุเรียน

Last updated: 27 ต.ค. 2565  |  42 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิ่งที่ควร และไม่ควรทำ เมื่อเจอปัญหาน้ำท่วมขังในสวนทุเรียน

สิ่งที่ควร และไม่ควรทำ เมื่อเจอปัญหาน้ำท่วมขังในสวนทุเรียน

       ปัญหาทุเรียนช็อค น้ำท่วมน้ำขัง ประเทศไทยฝนตกติดต่อกันต่อเนื่องมาอย่างหนัก

       พื้นที่ใด เป็นที่ราบลุ่ม หรือเชิงเขา แต่เป็นทางน้ำไหลผ่าน ก็ระบายน้ำได้ไว แต่สวนใด เกิดปัญหา ทุเรียนช็อค น้ำท่วมขัง รากแช่น้ำ ใบเริ่มถอดสีหรือใบเริ่มร่วงไปจนกระทั่งรุนแรงถึงราก เป็นแผล เริ่มเน่าถอดเปลือก

สิ่งที่ไม่ควรทำ หลังน้ำลด

- อย่าใส่ปุ๋ยใดๆ เป็นอันขาด ถ้าหลังน้ำลดแล้ว สำรวจเจอรากเริ่มเน่าเสียหาย ถอดปลอก การใส่ปุ๋ยยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมทุเรียนให้ตายเร็วขึ้น เนื่องจากความเค็มของปุ๋ยจะไปกัดทำให้กัดรากพังเร็วขึ้น

สิ่งที่ควรทำ  หลังน้ำลด

- ลดปริมาณเชื้อโรคในดินที่มากับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไฟทอป เชื้อฟูซาเรียม เชื้อราชมพู เชื้อรากโคนเน่า ฯลฯ

โดยการใช้  แอทแทค  สารกำจัดเชื้อโรคชนิดเฉียบพลันทันที กำจัดได้ทุกเชื้อ ออกฤทธิ์ไว ภายใน 5 นาที อัตราการใช้ 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร

บวกรวมกับสารเมทาแล็กซิลหรือฟอสอิทิลอะลูมิเนียม ฉีดพ่นไปยังโคนต้น รากทุเรียน บริเวณโคน และทรงพุ่ม ฉีด2-3ครั้ง ทุกๆ 5 วัน

- กระตุ้นให้รากเดินให้ทุเรียนสร้างรากใหม่ โดยใช้  โบลเวอร์ อะมิโนจากปลาทะเล บวกด้วยสารไนโตรฟิโนเลทจากธรรมชาติ อัตราการใช้ 200 ซีซี/น้ำ 200ลิตร

บวกกับสารฮิวมิคแอซิดหรือฟูลวิดแอซิด เพื่อเพิ่มความโปร่งของอากาศในชั้นดิน ฉีดพ่น 2-3ครั้ง  ทุก 7 วัน

- เมื่อยอดเขี้ยวปลา เริ่มพัฒนาเริ่มเดิน ก็สามารถให้อาหารทางใบ เพื่อพัฒนา เป็นแหล่งสังเคราะห์อาหารให้ต้นทุเรียน

ใช้สูตรทำใบ นูตร้าแพลนท์

ปุ๋ยน้ำ 21-4-4 (200ซีซี) + ซีเฟรซ สาหร่ายน้ำเขียว(200ซีซี) + นูตร้ามิกซ์สปาร์ค (100กรัม)

จนกระทั่งใบเริ่มกาง เปลี่ยนไปใช้สูตร

ปุ๋ยน้ำ 13-13-13 (200ซีซี) + ซีเฟรซ (200ซีซี) + นูตร้ามิกซ์สปาร์ค (100กรัม) จนใบเพสลาด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้